รายละเอียด
  • ผ้ายก
  • สิ่งทอ
  • -
  • -
  • ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕

ประวัติ

  

เป็นผ้าที่สร้างลวดลายด้วยการทอเสริมเส้นด้ายพุ่งพิเศษ ทั้งแบบเสริมยาวต่อเนื่องตลอดหน้าผ้า และแบบเสริมเป็นช่วงๆ โดยใช้วิธีเก็บตะกอลอยเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยจัดกลุ่มเส้นด้ายยืน ให้เปิดอ้าหรือยกและข่มเป็นจังหวะ เพื่อสอดเสริมเส้นด้ายพุ่งพิเศษตามลวดลายที่ต้องการ ก่อเกิดเป็นผืนผ้าที่มีลวดลายยกนูนสูงกว่าพื้นผ้า แหล่งผลิตที่สำคัญของสยาม คือ หัวเมืองปากใต้ อาทิ นครศรีธรรมราช สงชลา ไชยา เป็นต้น ใช้เป็นผ้านุ่งในโอกาสพิเศษหรือพิธีกรรม 

วัสดุ : ไหม (silk) ไหมทอง (gold thread)

รูปแบบศิลปะ

   ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕

หน้าที่ใช้สอย

  ผ้านุ่ง

สถานที่จัดเก็บ

  -

ที่มา

  -

รายการมรดกสิ่งทอ แนะนำ